การเพิ่มผลผลิตสีเขียว-จีพี (Green Productivity-GP) เป็นกลยุทธ์สำหรับการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มสมรรถนะในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน โดยอาศัยการผสมผสานระหว่างแนวคิดของเทคโนโลยีสะอาดและการลดปริมาณของเสีย หลักการนี้ถูกนำเสนอโดยองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียในปี พ.ศ.2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มผลผลิตของประเทศที่พัฒนาแล้ว
วิธีการดำเนินการของการเพิ่มผลผลิตสีเขียว
หลักปฏิบัติของการเพิ่มผลผลิตสีเขียว แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 13 กิจกรรม เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
หลักปฏิบัติของการเพิ่มผลผลิตสีเขียว แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 13 กิจกรรม เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
ขั้นตอนที่ 1: การเริ่มต้น
กิจกรรมที่ 1 : การจัดตั้งคณะทำงาน หรือการสร้างทีมจีพี
ทีมทำงานประกอบด้วยสมาชิกจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กร หากองค์กรมีขนาดใหญ่อาจจัดตั้ง
ทีมทำงานย่อยสำหรับแต่ละส่วนก็ได้ ทีมจีพีมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำมาตรการต่างๆ ของจีพีทีมงานควรจะเป็นทีมงานภายในบริษัท เพื่อจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องยั่งยืน
กิจกรรมที่ 2 : การสำรวจองค์กรและเก็บข้อมูล
การเดินสำรวจกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรร่วมกันของทีมจีพีจะช่วยให้สมาชิกทั้งหมดเห็นสภาพจริงที่
เกิดขึ้นในองค์กร ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและที่เก็บรวบรวมไว้จะถูกนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและต้นเหตุของปัญหา วิธีนี้จะช่วยในการเลือกปัญหาเบื้องต้นที่จะทำงานด้านจีพี
กิจกรรมที่ 1 : การจัดตั้งคณะทำงาน หรือการสร้างทีมจีพี
ทีมทำงานประกอบด้วยสมาชิกจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กร หากองค์กรมีขนาดใหญ่อาจจัดตั้ง
ทีมทำงานย่อยสำหรับแต่ละส่วนก็ได้ ทีมจีพีมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำมาตรการต่างๆ ของจีพีทีมงานควรจะเป็นทีมงานภายในบริษัท เพื่อจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องยั่งยืน
กิจกรรมที่ 2 : การสำรวจองค์กรและเก็บข้อมูล
การเดินสำรวจกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรร่วมกันของทีมจีพีจะช่วยให้สมาชิกทั้งหมดเห็นสภาพจริงที่
เกิดขึ้นในองค์กร ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและที่เก็บรวบรวมไว้จะถูกนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและต้นเหตุของปัญหา วิธีนี้จะช่วยในการเลือกปัญหาเบื้องต้นที่จะทำงานด้านจีพี
ขั้นตอนที่ 2 : การวางแผน
กิจกรรมที่ 3 : การแจกแจงถึงปัญหาและต้นเหตุ
ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดมสมอง การสมดุลมวลสารและพลังงาน การใช้แผนภูมิก้างปลา หรืออื่นๆ ทีมจีพีสามารถที่จะทราบถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงต้นตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้นได้
กิจกรรมที่ 4 : การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
จากปัญหาและต้นเหตุของปัญหาที่ได้จากกิจกรรมที่ 3 ทีมจีพีสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ควรจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่ได้ระบุไว้ วัตถุประสงค์หนึ่งอาจประกอบด้วยหลายเป้าหมาย ซึ่งอาจใช้เวลานาน และเป้าหมายควรตั้u3591 .ให้สอดคล้องกับความต้องการขั้นตอนที่ 3: การกำหนด ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกจีพี
กิจกรรมที่ 5 : การกำหนดทางเลือกจีพี
เมื่อมีเป้าหมายที่แน่ชัด ทีมจีพีสามารถกำหนดทางเลือกจีพีที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
กิจกรรมที่ 6 : การคัดสรร ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกจีพี
ทางเลือกจีพีที่ได้จะถูกนำมาคัดสรร ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญโดยพิจารณาทั้งทางด้านเทคนิคสิ่งแวดล้อม และการเงิน เพื่อเลือกทางเลือกจีพีที่มีความสำคัญเร่งด่วน สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
ขั้นตอนที่ 4 : การนำทางเลือกจีพีไปฏิบัติ
กิจกรรมที่ 7 : การกำหนดแผนดำเนินงาน
ทางเลือกจีพีที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกนำมาแจกแจงรายละเอียดเป็นแผนปฏิบัติการ โดยครอบคลุมถึง
กิจกรรมที่กระทำ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาดำเนินการ
กิจกรรมที่ 8 : การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
ทีมจีพีจะทำการปรับปรุงองค์กรตามแผนดำเนินการที่วางไว้ ในช่วงนี้อาจจำเป็นต้องมีการปรับแผน
ดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
กิจกรรมที่ 9 : การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ
เพื่อให้การปรับปรุงดำเนินไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ควรมีการอบรมบุคลากรในทุกระดับให้เข้าใจถึง
แนวคิดของการเพิ่มผลผลิตสีเขียว และขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้การปรับปรุงต่างๆ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 5 : การเฝ้าตรวจและประเมินผล
กิจกรรมที่ 10 : การเฝ้าตรวจและประเมินผลที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกจีพีแล้ว ทีมจีพีจำเป็นต้องเฝ้าตรวจ
รวบรวมข้อมูล ประเมินผลที่ได้ และเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อใหทราบถึงผลสำเร็จของการ
ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
กิจกรรมที่ 11 : การตรวจสอบโดยผู้บริหาร
ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จะถูกตรวจสอบโดยผู้บริหารเพื่อประเมินผลประโยชน์โดยรวมที่องค์กรได้รับ
พร้อมทั้งทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของทางเลือกจีพี เพื่อหาทาง
แก้ไขในอนาคต
ขั้นตอนที่ 6 : การดำเนินการที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิดของจีพี
กิจกรรมที่ 12 : การเสริมสร้างแนวคิดจีพี ในระบบการจัดการขององค์กร
ผู้บริหารขององค์กรควรสร้างบรรยากาศและวางนโยบายที่จะเสริมสร้างและส่งเสริมแนวคิดของการเพิ่มผลผลิตสีเขียวในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
กิจกรรมที่ 13 : การกำหนดปัญหาใหม่เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ทีมจีพีทำการสำรวจกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรและกำหนดปัญหาใหม่เพื่อวัฏจักรการทำงานใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กร
กิจกรรมที่ 3 : การแจกแจงถึงปัญหาและต้นเหตุ
ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดมสมอง การสมดุลมวลสารและพลังงาน การใช้แผนภูมิก้างปลา หรืออื่นๆ ทีมจีพีสามารถที่จะทราบถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงต้นตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้นได้
กิจกรรมที่ 4 : การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
จากปัญหาและต้นเหตุของปัญหาที่ได้จากกิจกรรมที่ 3 ทีมจีพีสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์ควรจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่ได้ระบุไว้ วัตถุประสงค์หนึ่งอาจประกอบด้วยหลายเป้าหมาย ซึ่งอาจใช้เวลานาน และเป้าหมายควรตั้u3591 .ให้สอดคล้องกับความต้องการขั้นตอนที่ 3: การกำหนด ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกจีพี
กิจกรรมที่ 5 : การกำหนดทางเลือกจีพี
เมื่อมีเป้าหมายที่แน่ชัด ทีมจีพีสามารถกำหนดทางเลือกจีพีที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
กิจกรรมที่ 6 : การคัดสรร ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกจีพี
ทางเลือกจีพีที่ได้จะถูกนำมาคัดสรร ประเมิน และจัดลำดับความสำคัญโดยพิจารณาทั้งทางด้านเทคนิคสิ่งแวดล้อม และการเงิน เพื่อเลือกทางเลือกจีพีที่มีความสำคัญเร่งด่วน สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
กิจกรรมที่ 7 : การกำหนดแผนดำเนินงาน
ทางเลือกจีพีที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกนำมาแจกแจงรายละเอียดเป็นแผนปฏิบัติการ โดยครอบคลุมถึง
กิจกรรมที่กระทำ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาดำเนินการ
กิจกรรมที่ 8 : การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
ทีมจีพีจะทำการปรับปรุงองค์กรตามแผนดำเนินการที่วางไว้ ในช่วงนี้อาจจำเป็นต้องมีการปรับแผน
ดำเนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
กิจกรรมที่ 9 : การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ
เพื่อให้การปรับปรุงดำเนินไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ควรมีการอบรมบุคลากรในทุกระดับให้เข้าใจถึง
แนวคิดของการเพิ่มผลผลิตสีเขียว และขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้การปรับปรุงต่างๆ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
กิจกรรมที่ 10 : การเฝ้าตรวจและประเมินผลที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกจีพีแล้ว ทีมจีพีจำเป็นต้องเฝ้าตรวจ
รวบรวมข้อมูล ประเมินผลที่ได้ และเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อใหทราบถึงผลสำเร็จของการ
ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
กิจกรรมที่ 11 : การตรวจสอบโดยผู้บริหาร
ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จะถูกตรวจสอบโดยผู้บริหารเพื่อประเมินผลประโยชน์โดยรวมที่องค์กรได้รับ
พร้อมทั้งทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของทางเลือกจีพี เพื่อหาทาง
แก้ไขในอนาคต
กิจกรรมที่ 12 : การเสริมสร้างแนวคิดจีพี ในระบบการจัดการขององค์กร
ผู้บริหารขององค์กรควรสร้างบรรยากาศและวางนโยบายที่จะเสริมสร้างและส่งเสริมแนวคิดของการเพิ่มผลผลิตสีเขียวในองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
กิจกรรมที่ 13 : การกำหนดปัญหาใหม่เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ทีมจีพีทำการสำรวจกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรและกำหนดปัญหาใหม่เพื่อวัฏจักรการทำงานใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น