กิจกรรมกลุ่มคุณภาพเป็นเทคนิคการทำงานที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน
โดยกลุ่มที่เหมาะสมก็คือ 3
- 10
คน และผู้ปฏิบัิติงานจะต้องอยู่ในหน่วยงานหรือสายงานเดียวกัน ในการทำกิจกรรมกล่ม QCC จะต้องเป็นไปโดยอิสระและมีการดำเนินการตามหลักการ
PDCA กลุ่มที่รวมตัวกันขึ้นนั้นจะต้องศึกษา
และแก้ไขปัญหาประจำวันหรือปัญหาในการทำงานที่ทำอยู่โดยใช้วิธีการด้านการควบคุมคุณภาพ
(Quality
Control : QC) และเทคนิคต่างๆ
เป้าหมายของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC)
1. เพื่อสร้างคุณภาพในการทำงาน
2. เพื่อให้กระบวนการทำงานอยู่ในสภาพที่ควบคุมได้
3. เพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
4. เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ
5. เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
6. เพื่อให้มีการแก้ปัญหาในการทำงานอย่างสมัครใจ
7. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาวิธีคิด
และดึงความเฉลียวฉลาดความสามารถของตนเองออกมาใช้
8. เพื่อปรับปรุงการประกันคุณภาพ
9. เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
10.
เพื่อสร้างความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
11.
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานและปรับปรุงคุณภาพ
12.
เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
13.
เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถแก้ปัญหาในการทำงานที่ทำอยู่ได้
14.
ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้น
ประโยชน์ของการทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC)
ประโยชน์ของการนำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพมาใช้ในการแก้ปัญหาในองค์กรทำให้สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน
เกิดการลดต้นทุน และเกิดคุณภาพโดยรวม ซึ่งรายละเอียดของประโยชน์ที่เกิดขึ้น
มีดังนี้
ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน
1. ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มมากขึ้น
มีโอกาสแสดงออกและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. ได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
3.ทำให้เกิดความร่วมมือ
และเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน
เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ต่อองค์กรหรือหน่วยงาน
1. ทำให้มีการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต
2. ลดต้นทุน
และค่้าใช้จ่ายที่ไม่จำ่เป็นให้แก่หน่วยงาน
3. เพิ่มคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้น
4. สร้างความปลอดภัยในการทำงาน
ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
1.
ลดปริมาณการสูญเสียได้มากทำให้เกิดการประหยัดวัสดุ
พลังงาน ซึ่งเป็นการช่วยประเทศชาติในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
2. ลูกค้าในประเทศ
และลูกค้าต่างประเทศเกิดความเชื่อถือในสินค้าของไทย
3. ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
และสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น
4. เป็นพื้นฐานการพัฒนาความคิด
การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบให้คนไทย
5. ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานต่างๆ
ในการผลิตสินค้า
6. ทำให้ประหยัดวัสดุในการผลิตสินค้า
7. ผู้ผลิตในประเทศสามารถขายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าคู่แข่งในต่างประเทศ
ขั้นตอนในการนำกิจกรรมกลุมคุณภาพ
(QCC) มาใช้ในองค์การ
ขั้นตอนในการนำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC) มาใช้ในองค์การในการเริ่มต้นกิจกรรมคุณภาพจะต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจเเก่คนในองค์การเสียก่อน โดยกลุ่มเป้าหมายเเรก คือ หัวหน้างานต่าง ๆ เมื่อหัวหน้างานเกิดความรู้ความเข้าใจเเละเห็นความสำคัญเเล้วจึงนำความรู้ไปเผยเเพร่ให้กับพนักงานในกลุ่มงานของตนเองได้ทราบ ซึ่งการดำเนินการกิจกรรมกลุ่มคุณภาพนั้นผู้บริหารจะต้งจัดคณะกรรมการกลุ่มคุณภาพขึ้นมา เพื่อไปดำเนินการเเละให้การสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มคุณภาพ โดยควรดำเนินการให้เป็นขั้นตอนตามลำดับดั้งนี้
1. ให้การอบรมเเละสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา
2. ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
3. ดำเนินการจดทะเบียนกลุ่มคุณภาพ โดยจะต้องให้เเต่ละกลุ่ม มีการตั้งชื่อกลุ่ม สโลเเกมของกลุ่ม
เเละกำหนดคณะกรรมการของกลุ่ม
4. จัดกิจกรรมกระตุ้นการทำงานกลุ่ม เช่น จัดให้มีการประกวด การเเข่งขัน
5. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำ QCC ของพนักงานทั้งในด้านเวลาทำงาน เเละด้านงบประมาณ
6. ให้มีการนำเสนอผลงานดำเนินงานกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เช่น มีการจัดงาน วัน QCC
7. ประกาศผลกลุ่มที่ได้รางวัลชนะเลิศ เเละให้รางวัล
8. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
9. รวบรวมปัญหาเเละอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการนำกิจกรรมกลุ่มคณภาพมาใช้ในองค์การ เเละวิธีการปรับปรุงเเก้ไข
ขั้นตอนการปฎิบัติของกิจกรรมกลุมคุณภาพ (QCC)
ในการนำกิจกรรมคุณภาพของกลุ่มต่างๆ จะต้องดำเนินการหลังจากที่มีการจดทะเบียนกับคณะกรรมการ QCC ขององค์การเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแต่ละกลุ่มจะต้องดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. ขั้นตอนการจัดตั้ง QCC ซึ่งประกอบด้วย
1. กลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานในแผนกหรือฝ่ายงานเดียวกัน รวมตัวกัน 3-10 คน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาในการทำงานของตน
2. กำหนดหน้าที่ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ประธานกลุ่ม รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และปฏิคม
3. กำหนดสัญลักษณ์ และคำขวัญประจำกลุ่ม
4. จัดประชุมกลุ่ม
2. ขั้นตอนการค้นหาปัญหา ซึ่งประกอบด้อย กิจกรรม QCC เป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่คุณภาพตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน ดังนั้นกลุ่มคุณภาพที่จัดตั้งขึ้นจะต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะมีความคิดเห็นที่เเตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนนี้จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและในการเลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำนั้นจะต้องมีการระดมสมองให้ทุกคนมีส่วนรวมในการตัดสินใจ
3. กำหนดหัวข้อเรื่อง เมื่อค้นปัญหาได้เเล้วก็ดำเนินการกำหนดหัวข้อเรื่องโดยหัวข้อเรื่องนั้นสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้จริงๆ
4. กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงาน QCC ในขั้นตอนกำหนดเป้าหมายนี้จะต้องกำหนดให้ชัดเจนโดยสามารถวัดผลได้ โดยทั่วไปจะกำหนดเป็นตัวเลข เช่น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีตำนิลดลงภายในระยะเวลา 3 เดือนแรก 20% หรือภายใน 3 เดือน จะต้องลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง 15 %
5. สำรวจสภาพปัจจุบัน สมมาชิกที่ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม QCC จะต้องรวมกันสำรวจสภาพปัจจุบันของหน่วยงานให้ละเอียดทุกเเง่ทุกมุม บันทึกข้อมูลทั้งหมดรวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และแนวทางเเก้ไข
6. แก้ไขปัญหาตามขั้นตอน PDCA (Deming Cycle) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาโดยละเอียดแล้วก็ดำเนินการแก้ปัญหาตามวงจร PDCA ได้แก่
- Plan คือ การวางแผนแก้ไขปัญหาซึ่งประกอบด้วย การเก็บข้อมูลก่อนเลือกปัญหา จัดลำดับความสำคัญ หาสาเหตุของปัญหาและกำหนดวิธีการในการแก้ไขปัญหา
- Do คือ การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
- Check คือ การตรวจสอบผลที่ได้ปฏิบัติว่าตรงเป้าหมายหรือไม่
- Act คือ การดำเนินการให้เหมาะสม โดยถ้าผลการแก้ไขปัญหาเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และตรงตามวัตถุประสงค์ก็จะจัดทำเป็รมาตรฐานในการทำงาน แต่ถ้าไม่เป็นไปตามแผนเเละวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ก็ต้องมีการวางแผนใหม่และปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
7. การกำหนดเป็นมาตราฐาน หลังจากเก้ปัญหาต่าง ๆ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เเล้วก็กำหนดเป็นมาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานการกำหนดมาตรฐานก็ คือ การกำหนดไม่ให้การทำงานมีคุณภาพต่ำกว่านี้
8. สรุปเเละรายงาน ขั้นตอนนี้เป็นการสรุปเเละรายงานผลการจัดทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เเละเผยเเพร่ผลงาน
9.วางเเผนภารกิจกลุ่มคุณภาพ โดยการศึกษาปัญหาการทำงานว่ามีปัญาหาใดที่จะต้องนำมาทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพอีก เเละเริ่มต้นเเก้ไขปัณหาใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนปัญหาในการทำงานก็จะหมดไปจากองค์การ
เครื่องมือของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC)
1. ใบตรวจสอบ (Check Sheet) ใบตรวจสอบ รายงานตรวจสอบ หรือตารางตรวจสอบ คือ ตารางเเผนผัง หรือรายงานที่มีการออกแบบไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการบันทึกข้อมูลหรือตัวเลข เเต่เพื่อความสะดวกมักจะออกแบบเพื่อให้สามารถใช้การ "ขีด" คะเเนนลงไปในใบตรวจสอบได้เลย ใบตรวจสอบ (Check Sheets) บางเเห่งเรียกว่า Tally-Sheet โดยวัตถุประสงค์ในการใช้ใบการตรวจสอบ มีดังนี้
- เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือตัวเลขได้ง่ายเเละถูกต้อง
- เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย เเละนำไปใช้ประโยชน์ต่อการตัดสิ้นใจได้ถูกต้อง
ตัวอย่าง Check Sheets ตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเเละเครื่องใช้สำนักงานในองค์การภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์
พฤติกรรมการใช้ ความถี่(ครั้ง) รวม
1. ไม่ปิดคอมพิวเตอร์หลังเลิกการใช้งาน ///// 5
2.เปิดไฟเเล้วไม่ได้ปิดก่อนออกจากห้อง ///// //// 9
3. นำโทรศัพท์มาชาร์ทไฟในสำนักงาน //// 4
4. เปิดทีวีทิ้งไว้หรือไม่มีคนดู /// 3
5. ไม่ปิดพัดลมเมื่อไม่ได้อยู่ในห้อง ///// /// 8
6. เปิดเเอร์ทั้ง ๆ ที่อากาศไม่ร้อน /// 3
7. เสียบปลั๊กกระดิกน้ำร้อนตลอดทั้งวัน ///// ///// // 12
2. ผังเหตุ และผล (Cause and Effect Diagrams) ผังเหตุและผล คือ แผนรูปที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่่างผลลัพธ์ (Effect) กับสาเหตุ (Cause) ที่่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ ผังเหตุและผลมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ผังก้างปลา (Fishbone Diagrams) หรือผังอิชิกาว่า (Ishigawa Diagrams) วัตถุประสงค์ของการใช้แผนภาพก้างปลา มีดังนี้
http://econs.co.th/wp-content/uploads/2016/07/2.2.jpg
3. ผังพาเรโต้ (Pareto Diagrams) ผังพาเรโต้ คือ แผนรูปที่ใช้สำหรับตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน หรือโรงงานว่าปัญหาใดเป็นปัญหาสำคัญที่สุดและรอง ๆ ลงไปตามลำดับ โดยนำปัญหาหรือสาเหตุเหล่านั้นมาจัดหมวดหมู่หรือเเบ่งเเยกประเภท แล้วเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยโดยการแสดงขนาดความสำคัญมากน้อยด้วนกราฟแท่ง และแสดงค่าสะสมด้วยกราฟเส้น วัตถุประสงค์ของใช้ผังพาเรโต้ มีดังนี้
- เพื่อแสดงให้เห็นถึงลำดับความสำคัญของปัญหาต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อการเลือกแก้ปัญหาก่อนหลัง
- เพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละปัญหามีอัตราส่วนเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับทั้งหมด
http://econs.co.th/wp-content/uploads/2016/07/1.2.jpg
4.กราฟ (Graphs) คือ เครื่องมือที่ใช้ในการแสดง หรือแปลข้อมูลให้เป็นรูปที่เห็นได้ชัดและเข้าใจง่ายอาจเป็นกราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม เป็นต้น เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ขั้นสูงต่อไป การใช้กราฟเพื่อจุดประสงค์ ดังนี้
-เพื่อใช้อธิบายผลหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยกราฟที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
-เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูล
-เพื่อใช้ในการควบคุม
-เพื่อใช้เก็บบันทึกข้อมูลที่เก็บได้
http://www.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2015/09/graph-0.png
5.ฮีสโตแกรม (Histograme) ฮีสโตแกรม คือ กราฟแท่งชนิดหนึ่งซึ่งแสดงถึงการกระจายความถี่ของข้อมูล (แสดงข้อมูลเป็นหมวดหมู่) ซึ่งมีแนวโน้มสู่ศูนย์กลางที่เป็นค่าสูงสุด และกระจายลดหลั่งไปตามลำดับวัตถุประสงค์ในการจัดทำฮีสโตแกรม มีดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจรูปเเบบการกระจายของข้อมูล และแนวโน้มการกระจายข้อมูล
-เพื่อแสดงความถี่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามตัวเเปรตัวหนึ่ง
-เพื่อใช้เปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้
https://2.bp.blogspot.com/-sD6uEyNmvuo/WXNrkhiibJI/AAAAAAAAB5Q/l0rrjdXkHEUwdPV59i4y
6. ผังการกระจาย (Scatter Diagrams) ผังกระจาย คือ เเผนที่รูปเเสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเเปร 2 ตัว ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิต ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรในเชิงสถิติจึงสามารถหาความสัมพันธ์(Correlation)ของตัวแปรทั้งสองได้จากผังการกระจายนี้ วัตถุประสงค์ในผังการกระจาย มีดังนี้
- เพื่อเเสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเเปร 2 ตัว ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
- เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการให้ได้คุณภาพตามที่กำหนด
http://slideplayer.in.th/slide/2854738/10/images/12/%E0
สรุป กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC) เป็นกิจกรรมที่พนักงานทุกคนได้รวมกลุ่มเพื่อเเก้ปัญหาในการทำงานซึ่งการทำกิจกรรมกลุ่ม QCC นั้นจะต้องมีการดำเนินการที่เป็นขั้นตอนตามหลักการ PDCA เเละในการตัดสิ้นใจจะต้องใช้หลักการวิเคราะห์เเละข้อมูลทางสถิติเข้ามาตัดสิ้นใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น