6.5 การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม
การปรับปรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance) เรียกย่อว่า TPM เป็นเทคนิคเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้สามรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งานตามที่ได้ออกแบบไว้ เครื่องจักรต้องมีการจัดประวัติเพื่อกำหนดตารางเวลาการบำรุงรักษาเเละผู้รับผิดชอบ ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่่ดี อาจทำให็เกิดปัญหาในสายการผลิต ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักเพื่อซ่อมแซมแก้ไขเครื่องจักร ยิ่งหยุดเครื่องนานเท่าใดองค์การก็จะยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น อักษรย่อ TPM มีความหมาย ดังนี้
T = Total : การพัฒนาประสิทะฺภาพรวมของเครื่องจักร โดยมุ่งเน้นหลักการอาศัย ความร่วมมือของพนักงานทุกคน
P = Productive : การผลิตมุ่งเน้นประสิทธิภาพสูงสุด
M = Maintenance : การดูเเลบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อให้การบริหารการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การบำรุงรักษาทวีผลเเบบทุกคนมีส่วนร่วม หมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขององค์การด้วยการลดต้นทุนโดยรวมของเครื่องจักรตลอดอายุการใช้งานให้ราบรื่น เเละลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของเครื่องจักร โดยอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกคนในการช่วยกันบำรุงเเละดูเเลรักษาเครื่องจักร
เครื่องจักรเเละพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการผลิตที่สามารถควบคุมได้ง่ายกว่าวัตถุดิบ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากเเก่การควบคุม การรักษาเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน จึงเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมาก สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักร หลักการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิผลของเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเสีย 6 ประการ คือ
1.1 การหยุดของเครื่องจักรเพื่อปรับตั้งเเละปรับเเต่เครื่องจักรใหม่
1.2 การหยุดของเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง
1.3 เครื่องจักรเสียความเร็ว (Speed) หรืออัตราเร่งในการผลิต
1.4 การหยุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเครื่องจักร เพื่อซ่อมเเซมหรือตรวจซ่อม
1.5 การผลิตของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต
1.6 การสูญเสียวัตถุดิบตอนเริ่มทำการผลิต (Start up)
2. การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น การทำความสะอาด การทำกิจกรรมกลุ่มการบำรุงรักษาเครื่องจักรเเละการบำรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้น
3. การจัดทำเเผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการจัดทำตารางซ่อมบำรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักร
4. การพัฒนาความรู้ ทักษะของพนักงาน เรื่องการดูเเลรักษาเครื่องจักร รวมทั้งปลูกจิตสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
5. การสร้างระบบการป้องกัน การบำรุงรักษาเครื่องจักร จะเน้นหลักในขั้นตอนการออกเเบบเพื่อให้ใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา (Maintenance Free) โดยอาศัยข้อมูลการใช้งานของเครื่องจักรต่าง ๆ
ปัญหาเครื่องจักร ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที ผลกระทบที่ตามมา
การทำงานผิดปกติ - ความเสื่อมสภาพของเครื่องจักร - อายุการใช้งานสั้นลง
- ความไร้ประสิทธิภาพของเครื่องจักร - ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูง
- ความผันแปรของผลผลิต
เกิดการ Breakdown - เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน - เกิดของเสียเเละการทำRework
- เกิดความว่างงานขณะรองาน - เกิดการปาดเจ็บ
- สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ไม่ได้ - เกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้น
ถูกใช้งานตามระยะเวลา - เกิดความล้าช้าของงานขึ้น
วิธีการบำรุงรักษาทวีผลเเบบทุกคนมีส่วนร่วม (Productive Maintenance) ประกอบไปด้วยการบำรุงรักษาหลายรูปเเบบดังนี้
(1.) การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance) เป็นการว่างเเผนกำหนช่วงระยะเวลาการตรวจสอบ เเละการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมทั้งอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพของชิ้นส่วน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เป็นการวางเเผนเพือป้องกันไว้ล่วงหน้า โดยไม่ทำให้กระบวนการผลิตขององค์การต้องหยุดชะงักลง การบำรุงรักษาเพื่อป้องกันแบ่งออกเป็น
1.1 การบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา เป็นการนับเวลาจากการบำรุงรักษาครั้งหนึ่งไปยังอีกครั้งหนึ่งมักจะเป็นเวลาที่คงที่ เมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้จะทำการบำรุงรักาา โดยอาจกำหนดเวลาเป็นวัน เดือน หรือเป็นปี เป็นต้น
1.2 การบำรุงรักษาตามอายุการใช้งาน เป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาของการบำรุงรักษาเเต่ละช่วงอาจ มีเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งจะทำการบำรุงรักษาต่อเมื่ออุปกรณณ์เครื่องจักรถูกใช้งานเท่ากับที่กำหนดไว้
(2.) การบำรุงรักษาเพื่อการตรวจสอบ (Inspection Maintenance) เป็นการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เพื่อประเมินสภาพตามความเป็นจริง เเบ่งออกเป็น
2.1 การตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องจักร (Function Check) เป็นการตรวจสอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ว่าสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ต่าง ๆ หรือไม่
2.2 การตวรจสอบความพร้อมของเครื่องจักร (Condition Check) เป็นการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจัก เเละอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะทำงานได้
(3.)การบำรุกรักษษเเบบแก้ไข (Breakdown) เป็นการซ่ออมเเซ่ม หรือเปลี่ยนเเแปลงชิ้นส่านต่าง ๆ ของเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรเกิดการขัดข้องหรือเสียหายในขณะเครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อนว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น เเละเมื่อเกิดความเสียหายเเล้ว ทำให้ต้องหยุดเครื่องเพื่อให้ซ่อมเเซ่ม หรือเปลี่ยนสิ้นส่วนที่เสียหาย
พนักงานบำรุงรักษา พนักงานปฎิบัติการ
หน้าที่
-ป้องกันการเกิดข้อขัดข้องของเครื่องจักร -ให้การดูเเลเครื่องจักรเเละอุปกรณ์อย่างใกล้ชิดเเละ
-ให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องจักร บันทึกการทำงานของเครื่องจักรตั้งเเต่เริ่มต้องทำงาน
จนถึงสิ้นสุดการทำงานในเเต่ละวัน
ความรับผิดชอบ
- ให้ความอบรมต่อพนักงานปฎิบัติงาน - ปฎิบัติการทำงานที่ถูกต้อง
- ดำเนินการเเก้ไขปปัญหาเครื่องจักร - ตรวจข้อปัญหาที่เกิดขึ้น
- ดำเนินการปฎิบัติงาน - ดำเนินกิจวัตรดูเเลเครื่องจักร
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาทวีผลเเบบทุกคนมีส่วนร่วม ที่สำคัญคือ
(1.) การพัฒนาคนให้มีความบำรุงรักษาเเละปรับปรุงเครื่องจักรให้ดีขึ้น เเบ่งออกเป็น
1.1 พนักงานสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตนเองระดับหนึ่ง
1.2 พนักงานซ่อมบำรุง สามารถซ่อมเเซ่มบำรุงรักษาเครื่องจักร/อุปกรณ์ได้
(2.) การปรับปรุงเครื่องจักร/อุปกาณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร ทำให้ไม่เกิดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต อันจะนำมาเพิ่มผลผลิตเเละกำไรสูงสุดขององค์การ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
หน่วยที่ 6 การนำกิจกรรมระบบคุณภาพเเละเพิ่มผลผลิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการงานอาชีพ
การเพิ่มผลผลิตในองค์การนั้นจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตขององค์การเเละจะต้องคำนึงถึงคุณภาพ...
-
6.4 กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (Quality Control Circle : QCC) กิจกรรมกลุ่มคุณภาพเป็นเทคนิคการทำงานที่มุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการท...
-
การเพิ่มผลผลิตในองค์การนั้นจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตขององค์การเเละจะต้องคำนึงถึงคุณภาพ...
-
ระบบทันเวลาพอดี (Just-is-time System) หรือ JIT หมายถึงระบบการผลิตหรือการให้บริการที่ถูกพัฒนาเเละออกแบบให้ทำการผลิต ส่งมอบสินค...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น